การบริหารจัดการพื้นที่ปลูก
การจัดการพื้นที่สำหรับปลูก
การปลูกแบบยกพื้น ทำกระบะแปลงปลูกโดยยกสูงจากพื้นดิน 120 ซ.ม. พื้นที่สำหรับใส่ดินที่ปลูกได้ประมาณ 15 ซ.ม.
กว้าง ประมาณ 60 ซ.ม. และต้องมีผ้ารองปลุกผักเพื่อพยุงดิน โดยข้อดีของกะบะแปลงปลูกคือ
– สามารถทำงานได้สะดวก ไม่ต้องก้มหลัง
– ป้องกันหญ้า
– ป้องกันศัตรูที่เป็นสัตว์จำพวกคลาน
– ป้องกันเชื้อโรคจากดินธรรมชาติ
การปลูกบนพื้นดิน แบ่งได้ 2 แบบคือ

แบบปลูกในพื้นดินโดยตรง คือ ยกดินให้เป็นร่อง และปลูกลงบนดินเลย ซึ่งมีข้อเสียมากกว่าคือ
– ทำงานไม่สะดวกต้องก้มหลังตลอดเวลา
– ไม่สามารถควบคุมศัตรูที่เป็นสัตว์จากธรรมชาติได้
– ไม่สามารถควบคุมวัชพืชได้
– ไม่สามารถควบคุมเชื้อโรคจากดินธรรมชาติได้เช่นเชื้อรา
แบบปลูกในพื้นดินลักษณะเดียวกับการยกพื้น คือยกร่องพื้นดิน นำวัสดุมากันประคองดิน และ ใช้ผ้ารองปลูกมารองดิน
จะมีข้อดีมากกว่า แบบปลูกในพื้นดินโดยตรงคือ ป้องกันวัชพืช ควบคุมศัตรูที่เป็นสัตว์จากธรรมชาติได้ดีกว่า และป้องกันโรคหรือเชื้อราจากดินธรรมชาติได้
การจัดการกับดินที่ใช้ในการปลูก
เพื่อป้องกันสารเคมีที่ติดมากับดินธรรมชาติ ฟาร์มต้องทำดินเอง โดยใช้มูลวัวแห้ง คุยมะพร้าว และหน้าดินธรรมชาติที่ไม่เคยทำเคมีมาก่อน มาหมักรวมกัน 1 เดือน แล้วจึงนำไปใช้ปลูก
การจัดการกับน้ำที่ใช้ในการ ให้น้ำผัก
เช่นเดียวกับดิน น้ำเป็นปัจจัยหลัก เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง ฟาร์มจะมีสระน้ำที่ไม่ติดกับแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นน้ำสะอาดค่า PH อยู่ระหว่าง 6.5 -7.5
การจัดการแสงแดดและอากาศ
เนื่องจากพื้นที่ฟาร์มเป็นพื้นที่อากาศร้อน แสงแดดแรง ต้องมีการคลุมหลังคาด้วยพลาสติกใส กันแสง UV 7 % และต้องมีสะแลนพรางแสง 50 % และเมื่ออุณหภูมิ ร้อนเกินกว่า 35 องศาเซลเซียส ต้องมีพ่นละอองน้ำเพื่อลดความร้อน